IT CENTER Contant

กิจกรรมสารสนเทศ

กสท. เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นชี้แจงผลศึกษาการจัดทำบัญชีมหาสมุทร (Ocean Account) ในพื้นที่นำร่องอ่าวพังงา จ.พังงา จ.ภูเก็ต และจ.กระบี่

  • 21 ส.ค. 2566
  • 67

          วันที่ 18 สิงหาคม 2566 กองสารสนเทศและเทคโนโลยีการสำรวจ ทช. (กสท.) โดยนายปริทัศน์ เจริญสิทธิ์ ผอ.กสท. นางสาวจิตติมา เสถียรวุฒิกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญ นายอนุพงศ์ วีระกูล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ และนายณัฐพล บุญยืน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นชี้แจงผลศึกษาการจัดทำบัญชีมหาสมุทร (Ocean Account) ในพื้นที่นำร่องอ่าวพังงา จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ 2000 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) เป็นประธานการประชุม โดยมีนายอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เป็นผู้กล่าวรายงาน โอกาสนี้ ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคในสังกัดกรม ทช. เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2566

          สำหรับการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ดำเนินจัดทำบัญชีมหาสมุทร (Ocean Account) เพื่อรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ศึกษาวิธีการ ขั้นตอนและกระบวนการจัดทำบัญชีมหาสมุทร (Ocean Account) และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ของการดำเนินกิจกรรมต่างๆ กับฐานทรัพยากร ซึ่งอาจจะสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนหรือนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานในพื้นที่ได้ในอนาคต ต่อไป ซึ่งบัญชีมหาสมุทรจัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่แต่มีศักยภาพมากพอที่จะช่วยสนับสนุนให้การจัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยสะท้อนการไหลเวียนของทรัพยากรที่เข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของทรัพยากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ มองเห็นภาพรวมของฐานทรัพยากรและสามารถบริหารจัดการฐานทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป